“สิงห์ เอสเตท” ชูนิคมอุตสาหกรรม “เอส อ่างทอง” เป็นจุดยุทธศาสตร์แห่งใหม่ รองรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง

27 Feb 2025

ในช่วงเวลาที่การลงทุนในไทยกำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลกภายใต้สภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการสนับสนุนของภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง


ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนด้านพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และแรงงานที่มีทักษะ ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นจุดหมายของการลงทุนในอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล ศูนย์ข้อมูล และอิเล็กทรอนิกส์ นิคมอุตสาหกรรม “เอส อ่างทอง” หรือ SIE


โดยบริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ ‘S’ กำลังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทย และยังเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย พร้อมรองรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคมเพื่อช่วยเสริมศักยภาพและกระตุ้นการลงทุนในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน

 

FDI ไทยพุ่งแรง เติบโตสูงถึง 25%


การลงทุนในประเทศไทยกำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐและโครงสร้างเศรษฐกิจที่เอื้อต่อภาคอุตสาหกรรม ค่าเงินบาทที่ดึงดูดนักลงทุน แรงงานทักษะสูง และทำเลที่ตั้งใจกลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในปี 2567 เติบโตอย่างโดดเด่น มูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 25% และจำนวนโครงการขยายตัว 51% เมื่อเทียบกับปีก่อน


โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับการลงทุนสูงสุด ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรและยานยนต์ขณะที่อุตสาหกรรมดิจิทัลเติบโตถึง 3,585% ตอกย้ำศักยภาพของไทยในการเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ บนเวทีโลก[1]

 

ภาครัฐเดินหน้าเต็มกำลัง พร้อมมาตรการดึงดูดการลงทุน


ภาครัฐยังคงเดินหน้าส่งเสริมการลงทุนผ่านมาตรการสนับสนุนต่างๆ เช่น สิทธิประโยชน์ด้านภาษีจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)[2] และนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Digital Hub) ด้วยการพัฒนาโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นำร่องใน 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง


ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับนิคมอุตสาหกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในด้านระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ครอบคลุมรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ที่เหมาะสมแก่การลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ


[1] สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

[2] สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

“อ่างทอง” ทำเลทองแห่งใหม่ของอุตสาหกรรมไทย


ภาคกลางถือเป็นอีกพื้นที่ยุทธศาสตร์หลักในการลงทุนด้านนิคมอุตสาหกรรม ด้วยเป็นพื้นที่ที่ใกล้กับกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการค้า สามารถกระจายสินค้าไปยังภูมิภาคอื่นๆ ได้สะดวก และมีความพร้อมด้านแรงงาน โดยจังหวัดอ่างทองถือเป็นจุดยุทธศาสตร์แห่งใหม่ ด้วยจุดเด่นด้านโลจิสติกส์ที่เชื่อมต่อภาคกลางตอนบนและกรุงเทพฯ ทำให้สามารถรองรับภาคอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นตลาดในประเทศและการกระจายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ


ทั้งยังเป็นใจกลางพื้นที่เกษตรกรรมและเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร และเกษตรแปรรูป นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรและแรงงานในพื้นที่โดยรอบและใกล้เคียง


กำจร ลีประพันธ์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส อินดัสเทรียล เอสเตท จำกัด กล่าวว่า “เอส อ่างทอง ถูกพัฒนาขึ้นเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์เพื่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมแห่งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด ‘Eco Factory & Green Industry’ เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมยุคใหม่ด้วยทำเลศักยภาพที่เชื่อมต่อระบบโลจิสติกส์ นวัตกรรมและเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยรวมถึงสาธารณูปโภคแบบครบวงจร


ทั้งระบบพลังงานสะอาด ระบบไฟที่มีเสถียรภาพ ความมั่นคงด้านระบบน้ำ ที่พร้อมรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายหลายด้าน โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล ศูนย์ข้อมูล (Data Center) และอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PC Board ที่กำลังเติบโตควบคู่ไปกับเทรนด์ AI ของโลกในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง เรามุ่งหวังให้เอส อ่างทองเป็นศูนย์กลางการลงทุนที่ช่วยยกระดับขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมไทย สร้างโอกาสให้กับชุมชนและเกษตรกรไทยโดยรอบสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างยั่งยืน”

 

โครงสร้างพื้นฐานล้ำสมัย รองรับอุตสาหกรรมอนาคต


“เอส อ่างทอง” ถูกพัฒนาให้สอดรับกับแนวโน้มอุตสาหกรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมยุคใหม่ สามารถตอบสนองความต้องการของนักลงทุนและผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างครบวงจร โดยให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการความต่อเนื่องในการดำเนินงาน


 • ระบบไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม: ใช้โรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อน

ผลิตกระแสไฟฟ้าคาร์บอนต่ำ จำนวน 3 แห่ง กำลังผลิตรวม 403 เมกะวัตต์ พร้อมระบบสำรองไฟฟ้า เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังส่งเสริมพลังงานสะอาดผ่านโซลาร์เซลล์ลอยน้ำและโซลาร์เซลล์บนอาคาร เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน

สู่สิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับความต้องการแบบใหม่ของผู้ผลิตทั่วโลกที่ต้องการโรงงานที่มีมาตรฐาน

ด้านสิ่งแวดล้อมเป็นองค์ประกอบในการดำเนินงาน


• โครงสร้างระบบน้ำที่ยั่งยืน: สามารถผลิตน้ำประปาคุณภาพสูงด้วยเทคโนโลยี Ultra-Filtration 

กำลังการผลิต 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน พร้อมระบบควบคุมอัตโนมัติ อ่างเก็บน้ำ 384 ไร่

และบ่อหน่วงน้ำฝน รวมความจุ 6.38 ล้านลูกบาศก์เมตร รองรับอุตสาหกรรมทุกประเภท โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร นอกจากนี้ยังมีระบบบำบัดน้ำเสีย 6,610.9 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน สามารถ

นำน้ำกลับมาใช้รดต้นไม้ เพื่อลดการใช้น้ำและส่งเสริมความยั่งยืนควบคู่กัน


• โลจิสติกส์เชื่อมต่อทุกทิศทาง: การที่มีโครงการติดถนนสายเอเชีย ซึ่งถือเป็นเส้นทางหลักของประเทศ ช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนด้านขนส่ง รองรับการกระจายสินค้าภายในประเทศและพื้นที่ใกล้เคียง ตั้งแต่ต้นทุนการผลิตจนถึงต้นทุนการขาย

“เอส อ่างทอง” พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นและอุตสาหกรรมไทย ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยและแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว รองรับกลุ่มธุรกิจที่ต้องการพื้นที่สำหรับการผลิตและกระจายสินค้าอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด พร้อมสาธารณูปโภคที่มีเสถียรภาพ ทั้งระบบน้ำและไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยพื้นที่สีเขียวภายในนิคมอุตสาหกรรม พื้นที่พาณิชยกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน


ทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น ผ่านการสร้างงาน การพัฒนาโครงการเพื่อชุมชน และการเปิดโอกาสทางธุรกิจให้กับภาคเอกชนและผู้ประกอบการ SME บนทำเลศักยภาพที่เชื่อมต่อเส้นทางโลจิสติกส์หลักของประเทศ เพื่อเป็นศูนย์กลางการลงทุนที่ตอบโจทย์นักลงทุนและผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ต้องการขับเคลื่อนธุรกิจสู่อนาคตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

find me on socials

Find us on Facebook

NEWS UPDATE