90% ของผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และไอทีในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ได้รับผลกระทบจากภาวะหมดไฟและความเหนื่อยล้า

16 May 2024

โซฟอส (Sophos) ผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมและการให้บริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ เปิดเผยรายงาน “อนาคตของความปลอดภัยทางไซเบอร์ในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น” ฉบับที่ 4 ด้วยความร่วมมือกับ Tech Research Asia (TRA) 

โดยรายงานพบว่า 90% ของผู้ตอบแบบสอบถามในบทบาทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และไอที ได้รับผลกระทบจากภาวะหมดไฟและความเหนื่อยล้าในการทำงาน ผลการศึกษาพบว่าภาวะหมดไฟเกิดขึ้นได้ในเกือบทุกด้านของการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 

 

โดยผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 30 กล่าวว่ามีภาวะหมดไฟในการทำงานที่เพิ่มขึ้น “อย่างมีนัยสำคัญ” ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยร้อยละ 41 กล่าวว่า ภาวะหมดไฟนี้ทำให้พวกเขา “ขยันน้อยลง” ในบทบาทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของพวกเขา ซึ่ง 17% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ระบุว่าภาวะหมดไฟและความเหนื่อยล้าจากการทำงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์นี้ มีส่วนทำให้เกิดหรือมีผลกระทบโดยตรงต่อการละเมิดความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยบริษัทกว่า 17% ประสบปัญหาเรื่องเวลาการตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ช้าลงกว่าค่าเฉลี่ย

 

สาเหตุของภาวะหมดไฟและความเหนื่อยล้าทางไซเบอร์

สาเหตุหลัก 5 ประการหลักของภาวะหมดไฟและความเหนื่อยล้าทางไซเบอร์ในรายงาน ได้แก่: 

  1. ขาดแคลนทรัพยากรสนับสนุนด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 
  2. ลักษณะงานประจำที่สร้างความรู้สึกซ้ำซากจำเจ 
  3. ระดับความกดดันที่เพิ่มขึ้นจากคณะกรรมการและ/หรือผู้บริหาร 
  4. การแจ้งเตือนจำนวนมากจากเครื่องมือและระบบต่างๆ 
  5. ภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้น และการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ส่งผลให้เกิดความท้าทายเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผลกระทบของภาวะหมดไฟและความเหนื่อยล้าต่อพนักงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์

ผลการศึกษาพบว่าพนักงานทั่วเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 

  • 41% รู้สึกว่าพวกเขาไม่ใส่ใจในการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ 
  • 34% รู้สึกว่ามีระดับความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นหากถูกละเมิดหรือถูกโจมตี
  • 31% รู้สึกห่างเหิน และเฉยเมยต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความรับผิดชอบของพวกเขา
  • 30% ระบุว่าทำให้อยากลาออกหรือเปลี่ยนอาชีพ (23% ของผู้ตอบแบบสำรวจได้ดำเนินการลาออกแล้ว)
  • 10% รู้สึกผิดที่ไม่สามารถทำหน้าที่ต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้มากกว่านี้

Aaron Bugal field CTO ของโซฟอส กล่าวว่า “ในช่วงเวลาที่องค์กรต่าง ๆ กำลังดิ้นรนกับปัญหาการขาดแคลนทักษะด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และสภาพแวดล้อมการโจมตีทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ความมั่นคง และประสิทธิภาพของพนักงานถือเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันธุรกิจให้แข็งแกร่งต่อการโจมตี โดยภาวะหมดไฟ และความเหนื่อยล้ากำลังทำลายในส่วนนี้ และองค์กรจำเป็นต้องเข้ามาช่วยเหลือ และสนับสนุนพนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจากรายงานของเราพบว่า 17% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าภาวะหมดไฟ และความเหนื่อยล้าด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ มีส่วนก่อให้เกิด หรือส่งผลโดยตรงต่อการละเมิดความปลอดภัยทางไซเบอร์”

 

“รายงานของโซฟอสและ TRA นี้ ให้ข้อมูลอย่างทันท่วงทีเกี่ยวกับความกดดันทางไซเบอร์ที่องค์กรต่างๆ ต้องเผชิญ และแสดงให้เห็นว่าสิ่งต่างๆจำเป็นเปลี่ยนแปลง แม้ว่าการแก้ไขจะไม่ง่าย แต่การปรับทัศนคติจะช่วยในการกำหนดความคาดหวังที่ถูกต้องต่อการพัฒนาไปสู่ธุรกิจที่มีความทนทานต่อภ้ยคุกคามทางไซเบอร์ คณะกรรมการและคณะกรรมการบริหารจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการขับเคลื่อน และสนับสนุนคนที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการกำกับดูแลที่ดีขึ้นต่อแนวทางไซเบอร์ อย่างไรก็ตามพวกเขาจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่อย่างชัดเจนในการพัฒนา และแผนการดูแลรักษา เนื่องจากขณะนี้ความปลอดภัยทางไซเบอร์เปรียบเสมือนกีฬาที่มีการโต้ตอบตลอดเวลา และจำเป็นต้องมีทีมงานที่เพียงพอ สามารถป้องกันได้ทุกช่วงเวลา” 

 

ผลกระทบของภาวะหมดไฟด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความเหนื่อยล้าต่อการดำเนินธุรกิจ

4 ประเด็นสำคัญที่ภาวะหมดไฟ และความเหนื่อยล้าทางไซเบอร์มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจ มีดังนี้:

 

มีส่วนโดยตรงต่อการละเมิดความปลอดภัยทางไซเบอร์: 17% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าภาวะหมดไฟ หรือความเหนื่อยล้ากับระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ มีส่วนทำให้เกิด หรือส่งผลโดยตรงต่อการละเมิดความปลอดภัยทางไซเบอร์

 

เวลาตอบสนองต่อเหตุการณ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ช้าลง: 17% ของบริษัทประสบปัญหาการตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ช้าลงกว่าปกติ

 

ประสิทธิภาพการทำงานที่สูญเสียไป: ธุรกิจต่าง ๆ ประสบปัญหาการสูญเสียประสิทธิภาพการทำงานเฉลี่ย 4.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จากผู้รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านไอที โดยบริษัทในฟิลิปปินส์ (4.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) และสิงคโปร์ (4.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) ได้รับผลกระทบที่เลวร้ายที่สุด ในขณะที่อินเดียและญี่ปุ่น (3.6 ชั่วโมง/สัปดาห์) ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

 

การลาออกของพนักงาน: 23% ของบริษัท ระบุว่าความเครียด และภาวะหมดไฟเป็นสาเหตุโดยตรงของการลาออกของผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และไอที โดยสิงคโปร์มียอดสูงถึง 38% ของการลาออก และอินเดีย 31% 

find me on socials

Find us on Facebook

NEWS UPDATE